วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดระหว่างเรียน


 แบบฝึกหัดระหว่างเรียน
1. การเสริมแรง (Reinforcement) หมายถึงอะไร สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานเทคโนโลยีการศึกษาได้อย่างไร
ตอบ  การเสริมแรง หมายถึง การทำให้ผู้ทำพฤติกรรมเกิดความพึงพอใจ เมื่อทำพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งแล้ว เพื่อให้ทำพฤติกรรมนั้นซ้ำ ๆ อีก เช่น เมื่อนักเรียนตอบคำถามถูกต้อง ครูให้รางวัล (นักเรียนพอใจ) นักเรียนจะตอบคำถามอีกหากครูถามคำถามครั้งต่อ ๆ ไป  การทำให้ผู้ทำพฤติกรรมเกิดความพึงพอใจทำได้โดยให้ตัวเสริมแรง (Reinforcer) เมื่อทำพฤติกรรมแล้วประเภทของการเสริมแรง 
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานเทคโนโลยีการศึกษาโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน สร้างเป็นโปรแกรมขึ้นมาโดยทำสื่อที่เป็นการ์ตูน มีเกมที่ฝึกทักษะ มีเสียง มีภาพเคลื่อนไหว

2. ทฤษฎีทางจิตวิทยาสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเทคโนโลยีการศึกษาได้อย่างไร
                ตอบ ทฤษฎีทางจิตวิทยาได้นำมาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษา ดังนี้
1. การผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม (Behavioral Learning Theory)ใช้ในการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีของกาเย่ ( Gagne )
2. การผลิตสื่อเว็บการสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Learning Theory) ใช้ในการการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบ ของ Jero Brooner เพื่อให้ผู้เรียนจะต้อง ศึกษาและค้นคว้าด้วยตนเอง จะต้องสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน ผู้เรียนร่วม ผู้สนใจ และบุคคลอื่นๆ ในระบบได้ทั้วโลก
3. การจัดรูปแบบการเรียนการสอนจะใช้ทฤษฎีทางจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม มาใช้ในการจัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎีของ เลวิน (Lawin) ทฤษฎีสนาม มาใช้โดยการให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมกลุ่ม ได้เรียนรู้กับเพื่อนๆในกลุ่ม เป็นการเรียนแบบร่วมมือเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
3. มีการกล่าวถึงความหมายของ  สื่อการสอนประเภท  วัสดุ  ว่าเป็น  สิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลือง  ท่านมีความเห็นว่าอย่างไร
                ตอบ ผมคิดว่าคำกล่าวนี้ก็อาจเป็นสิ่งที่ถูกต้องเมื่อเรามองในมุมหนึ่ง แต่ถ้าเราหันมามองอีกมุมหนึ่ง เราก็จะพบว่าสื่อการสอนประเภทวัสดุนั้น มีความจำเป็นในการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้บทเรียนได้ง่ายขึ้น เข้าใจง่ายขึ้น เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆได้ดียิ่งขึ้น ทำให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพ
 ดังนั้น ถ้ามีการกล่าวว่าสื่อการสอน ประเภทวัสดุ เป็นสิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลือง เราก็อาจจะบอกกลับไปว่า สิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลืองนั้น เป็นการสิ้นเปลือง หรือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะทำให้นักเรียนจำนวนมากได้รับความรู้ ได้รับประโยชน์จากสื่อเหล่านั้น เป็นการลงทุนด้านการศึกษาที่ไม่สูญเปล่า อย่างน้อยความสิ้นเปลืองที่ต้องเสียไปนั้น ก็แลกมากับความรู้ ประสบการณ์ที่อยู่ในตัวผู้เรียน ซึ่งในภายหน้าผู้เรียนก็อาจนำความรู้เหล่านั้นไปพัฒนาสื่อการสอน ประเภทวัสดุ ให้มีสิ้นเปลืองน้อยลงได้ เป็นการลงทุนที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในระยะยาว
4. กรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale  แบ่งสื่อการสอนโดยยึดหลักอะไร / สรุปสาระสำคัญ
                ตอบ การแบ่งประเภทของสื่อการสอน  ถ้าแบ่งตามระดับประสบการณ์ของผู้เรียน  ซึ่ง  เดล  ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น  10  ประเภท  โดยพิจารณาจากลักษณะของประสบการณ์ที่ได้รับจากสื่อการสอนประเภทนั้น  โดยยึดเอาความเป็นรูปธรรมและนามธรรมเป็นหลักในการแบ่งประเภทและได้เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมที่สุดประสบการณ์  ที่เป็นนามธรรมที่สุด  (Abstract  Concrete  Continuum)  เรียกว่า กรวยประสบการณ์”  (Cone of  Experience) 
ขั้นที่1  ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย  (Direct  Purposeful  Experience)  เป็นประสบการณ์ที่เป็นรากฐานของประสบการณ์ทั้งปวง  เพราะได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงได้เห็น  ได้ยินเสียง  ได้สัมผัสด้วยตนเอง  เช่น  การเรียนจากของจริง  (Real  object)  ได้ร่วม  กิจกรรมการเรียนด้วยการลงมือกระทำ  เป็นต้น
ขั้นที่  2  ประสบการณ์จำลอง  (Contrived Simulation Experience) จากข้อจำกัดที่ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนจากประสบการณ์จริงให้แก่ผู้เรียนได้ เช่น ของจริงมีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป มีความซับซ้อน มีอันตราย จึงใช้ประสบการณ์จำลองแทน เช่น การใช้หุ่นจำลอง (Model) ของตัวอย่าง (Specimen)  เป็นต้น
ขั้นที่ 3 ประสบการณ์นาฏการ (Dramatized Experience) เป็นประสบการณ์ที่จัดขึ้นแทนประสบการณ์จริงที่เป็นอดีตไปแล้ว หรือเป็นนามธรรมที่ยากเกินกว่าจะเข้าใจและไม่สามารถ  ใช้ประสบการณ์จำลองได้  เช่น  การละเล่นพื้นเมือง  ประเพณีต่างๆ  เป็นต้น
ขั้นที่ 4 การสาธิต (Demonstration)  คือ การอธิบายข้อเท็จจริง  ความจริง  และกระบวนการที่สำคัญด้วยการแสดงให้เห็นเป็นลำดับขั้น  การสาธิตอาจทำได้โดยครูเป็นผู้สาธิต  นอกจากนี้อาจใช้ภาพยนตร์  สไลด์และฟิล์มสตริป  แสดงการสาธิตในเนื้อหาที่ต้องการสาธิตได้
              ขั้นที่ 5 การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip)  การพานักเรียนไปศึกษายังแหล่งความรู้นอกห้องเรียน  เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนรู้หลายๆด้าน  ได้แก่  การศึกษาความรู้จากสถานที่สำคัญ  เช่น  โบราณสถาน  โรงงาน  อุตสาหกรรม  เป็นต้น
              ขั้นที่ 6 นิทรรศการ (Exhibition)  คือ การจัดแสดงสิ่งต่างๆ  รวมทั้งมีการสาธิตและการฉายภาพยนตร์ประกอบเพื่อให้ประสบการณ์ในการเรียนรู้แก่ผู้เรียนหลายด้าน  ได้แก่  การจัดป้ายนิทรรศการ  การจัดแสดงผลงานนักเรียน
              ขั้นที่ 7 ภาพยนตร์ และโทรทัศน์ (Motion Picture and Television)  ผู้เรียนได้เรียนด้วยการเห็นและได้ยินเสียงเหตุการณ์  และเรื่องราวต่างๆ  ได้มองเห็นภาพในลักษณะการเคลื่อนไหวเหมือนจริง        ไปพร้อมๆกัน
              ขั้นที่ 8 การบันทึกเสียง วิทยุ และภาพนิ่ง (Recording, Radio and Picture)  ได้แก่  เทปบันทึกเสียง  แผ่นเสียง  วิทยุ  ซึ่งต้องอาศัยเรื่องการขยายเสียง  ส่วนภาพนิ่ง  ได้แก่  รูปภาพทั้งชนิดโปร่งแสงที่ใช้กับเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ(Overhead  projector)  สไลด์ (Slide)  ภาพนิ่งจากคอมพิวเตอร์  และ ภาพบันทึกเสียงที่ใช้กับเครื่องฉายภาพทึบแสง(Overhead  projector)
ขั้นที่ 9 ทัศนสัญลักษณ์  (Visual Symbol)  มีความเป็นนามธรรมมากขึ้น  จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นพื้นฐาน  ในการเลือกนำไปใช้  สื่อที่จัดอยู่ในประเภทนี้  คือ  แผนภูมิ  แผนสถิติ  -ภาพโฆษณา  การ์ตูน  แผนที่  และสัญลักษณ์ต่างเป็นต้น
              ขั้นที่ 10 วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbol)  เป็นประสบการณ์ขั้นสุดท้าย  ซึ่งเป็นนามธรรมที่สุด  ไม่มีความคล้ายคลึงกันระหว่างวจนสัญลักษณ์กับของจริง  ได้แก่  การใช้ตัวหนังสือแทนคำพูด
5. สื่อการสอนตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน แบ่งได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
                ตอบ   มี  3  ประเภท
1. สื่อที่ไม่ต้องฉาย  (non  projected  material)
2. สื่อที่ต้องฉาย  (projected  material)
3. สื่อที่เกี่ยวกับเสียง  (Audio material )
6. สื่อการสอนที่แบ่งตามแนวคิดของเทคโนโลยีการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
                ตอบ        1.  วัสดุ  -  สื่อที่ผลิตขึ้น  เช่น  รูปภาพ  แผนภูมิ
                                2.  อุปกรณ์  -  เครื่องมืออุปกรณ์  สำเร็จรูป  ทั้งที่สามารถใช้ได้ด้วยตนเอง  เช่น  หุ่นจำลอง  และสื่อที่ต้องใช้ร่วมกับวัสดุ  เช่น  วีดิทัศน์  สไลด์
                                3.  วิธีการ  -  กิจกรรม  เกม  ศูนย์การเรียน  ทัศนศึกษา  สถานการณ์จำลอง  แหล่งความรู้ชุมชน 
7. วัสดุกราฟิกหมายถึงอะไร
ตอบ วัสดุกราฟิค หมายถึง วัสดุใดๆ ซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน ภาพถ่ายและอักษรข้อความรวมกัน

8. ตู้อันตรทัศน์ มีลักษณะเป็นอย่างไร
                ตอบ เป็นแบบจำลองสภาพสิ่งต่างๆ ลงในตู้หรือในกล่อง โดยตกแต่งให้คล้ายสภาพที่แท้จริง เช่น สภาพหมู่บ้านในชนบท สภาพชีวิตใต้ทะเล หรือจาลองเรื่องราวตอนใดตอนหนึ่ง ในพุทธประวัติ เป็นต้น
9. หลักการใช้สื่อการสอนประเภทวัสดุสามมิติต้องทำอย่างไร
                ตอบ  1.เตรียมตัวครูและสถานที่ ทดลองใช้วัสดุสามมิติก่อนนาไปใช้จริงเตรียมการแก้ปัญหาอันอาจเกิดขึ้นในการใช้จริง
2.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการใช้หรือสัมผัส ของจริงของตัวอย่างหรือหุ่นจาลองด้วยตนเอง
3.ผู้เรียนสามารถมองเห็นได้ชัดเจนและทั่วถึง
4.ควรใช้ร่วมกับสื่อการเรียนการสอนชนิดอื่นๆที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้น
5.การนำเสนอสื่อการสอนประเภทวัสดุสามมิติ อาจกระทำได้
10. ให้นิสิตหาภาพตัวอย่างวัสดุกราฟิก แต่ละประเภท



 
แผ่นภูมิภาพ

 


 

 แผนภูมิ





 ลูกโลก                                  โฆษณา



 
                                                

                                         แผนที่



11. วัสดุกราฟิกมีความสำคัญต่อการศึกษาอย่างไร
                ตอบ เป็นสื่อการสอนที่สื่อถึงเรื่องราวต่าง ๆ โดยใช้เส้น ภาพวาด ภาพถ่าย และสัญลักษณ์ ที่ใกล้เคียงความเป็นจริง แทนคาพูดซึ่งอาจ อยู่ในรูปแบบของแผนที่ แผนภาพ ภาพโฆษณา ภาพถ่าย การ์ตูน และแผนสถิติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น